Format of tax invoice

 

จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บ จากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้ง เว้นแต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าชนิดและประเภทเดียวกันให้แก่ผู้ซื้อสินค้า รายหนึ่งรายใดเป็นจำนวนหลายครั้งในหนึ่งวันทำการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว สามารถจัดทำใบกำกับภาษีรวมเพียงครั้งเดียวในหนึ่งวันทำการ สำหรับผู้ซื้อสินค้ารายนั้นก็ได้

ประเภทของใบกำกับภาษี

  1. ใบกำกับภาษี เต็มรูปแบบ
  2. ใบกำกับภาษี อย่างย่อ
  3. ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

 

สาระสำคัญของ  ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

 

tax invoice

 

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษี”  ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทนเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนาม ของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86/3ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของตัวแทนนั้นด้วย
  3. กรณีมีเอกสารอื่นๆ ประกอบในชุดใบกำกับภาษีจะต้องมีคำว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “ต้นฉบับ”
  4. ชื่อ ที่อยู่  ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
  5. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
  6. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
  7. จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
  8. วัน เดือน ปี   ที่ออกใบกำกับภาษี
  9. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

 

สาระสำคัญของ  ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

 

Brief tax invoice 1

 

เป็นผู้ประกอบการ ที่จดทะเบียนประกอบกิจการค้าปลีก

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”   ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
  2. ชื่อ หรือ ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี
  3. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
  4. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
  5. ราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยต้องมีข้อความระบุชัดเจน ว่าได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว
  6. วัน เดือน ปี  ที่ออกใบกำกับภาษี
  7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

 

สาระสำคัญของใบกำกับภาษีอย่างย่อ  ออกโดยเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

 

Brief tax invoice

 

กิจการที่มีสิทธิออก ใบกำกับภาษีอย่างย่อ

  • กิจการที่เป็นการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก  เป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงเพื่อนำไปบริโภคหรือใช้สอย  โดยมิได้มีวัตถุประสงค์นำไปขายต่อ  เช่น ขายยา ขายของห้างสรรพสินค้า
  • กิจการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก  เช่น กิจการภัตตาคาร กิจการโรงแรม ซ่อมแซมทุกชนิด

 

ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงิน เพื่อการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ให้ยื่นคำขออนุมัติต่ออธิบดี

  1. คำว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”  หรือคำว่า  “TAX INV (ABB)”  หรือ คำว่า “TAX INVOICE (ABB)”
  2. ชื่อ หรือ ชื่อย่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร  ของผู้ประกอบการจดทะเบียน
  3. วัน เดือน ปี  ที่ออกใบกำกับภาษี
  4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ
  6. ราคาสินค้าหรือค่าบริการ โดยระบุข้อความชัดเจน   “รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว”   หรือ VAT INCLUDED
  7. เลขรหัสประจำเครื่องบันทึกการเก็บเงิน

 

Cr : www.rd.go.th